“งบประมาณส่วนบุคคล” คือ งบการเงินส่วนตัว ที่จะสามารถที่จะทำให้เราเห็นถึง ทรัพย์สินที่เรามีอยู่ มีอะไรบ้าง มีหนี้สิน ภาระผูกพันมากน้อยเพียงใด มีรายรับ รายจ่ายอะไรบ้าง และมีกระแสเงินสดเหลือหรือไม่ ในแต่ละเดือน หรือแต่ละปี
งบประมาณส่วนบุคคล ประกอบด้วย 2 งบหลักๆ คือ งบแสดงสถานะทางการเงินหรืองบดุลส่วนบุคคล และงบกระแสเงินสด
1. งบแสดงสถานะทางการเงินส่วนบุคคล หรือ งบดุลส่วนบุคคล ( Personal Balance Sheet )
เป็นรายการทางบัญชี ที่แสดงถึงฐานะทางการเงินของบุคคล ที่พิจารณา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยจะแสดงถึง สินทรัพย์ที่แต่ละบุคคลเป็นเจ้าของ แสดงถึง หนี้สินซึ่งบุคคลนั้นๆ มีภาระผูกพันที่จะต้องชำระคืนในอนาคต และความมั่งคั่งสุทธิที่เหลือในสินทรัพย์ หลังจากการชำระหนี้สินต่างๆ ครบถ้วนแล้ว
ประเภทสินทรัพย์ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
- สินทรัพย์สภาพคล่อง เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร ที่เรามีไว้ใช้ หรือสำรองไว้ใช้ในครอบครัว ควรมีสินทรัพย์สภาพคล่องขั้นต่ำ 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
- สินทรัพย์เพื่อการออม และลงทุน เช่น กองทุนรวม หุ้นกู้ หุ้นสามัญ ที่ดิน คอนโด ควรมีสัดส่วนการออมขั้นต่ำ 10 % ของรายได้
- สินทรัพย์เพื่อใช้ส่วนตัว เช่น ยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าและเครื่องประดับ ของสะสมต่างๆ
- สินทรัพย์อื่นๆ ได้แก่ สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ หุ้นในบริษัททั่วไปที่เราเป็นเจ้าของ และดำเนินงานอยู่ ซึ่งประเภทหนี้สิน แบ่งเป็น 2 ประเภท
- หนี้สินระยะสั้น เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนสินค้า
- หนี้สินระยะยาว เช่น หนี้บ้าน คอนโด
2. ความมั่งคั่งสุทธิ (net wealth)
ความมั่งคั่งสุทธิ (net wealth) คือ มูลค่าของสินทรัพย์ ที่เหลือหลังจากการชำระคืนหนี้สิน หรือภาระผูกพันทางการเงินต่างๆ ซึ่งจะบ่งบอกถึงความมั่งคั่ง ที่แท้จริงของบุคคลนั้นๆ โดยความมั่งคั่งสุทธิของบุคคล จะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปในเวลาต่างๆ กัน อันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์ และหนี้สินที่บุคคลมีอยู่
สินทรัพย์รวม – หนี้สินรวม = ความมั่งคั่งสุทธิ